ขนาดหน้าจอ : ปัจจุบันขนาดหน้าขอ 3.5นิ้วเริ่มไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจากขนาดที่ค่อนข้างเล็ก และราคาที่แทบไม่ต่างกับขนาดหน้าจอที่ใหญ่กว่า จึงแนะนำให้เลือกซื้อขนาดหน้าจอ 4.3 หรือ 5.0นิ้ว แต่ขนาด 7.0นิ้ว อาจจะใหญ่เกินไป น่าจะเหมาะกับรถตู้ รถกระบะคันใหญ่ๆ หรือเหมาะจะติดเข้าไปใน Console หน้ารถมากกว่า
- CUP : ความเร็วของ CPU ที่นำมาใช้ใน GPS Navigator (GPS ติดรถ) ส่วนใหญ่จะมีความเร็วที่ 300, 400, 500 และล่าสุดที่ 600MHz ความเร็ว 300MHz มีผลิตกันน้อยมากๆแล้ว ปัจจุบันนี้จะผลิตที่ 400MHz และ PND รุ่นใหม่ๆจะผลิตออกมาที่ 500MHz เพราะแผนที่นำทางในปัจจุบันส่วนใหญ่ จะมีการเล่นภาพ 3D ด้วย ดังนั้นความเร็ว CPU จึงต้องสูงขึ้น และล่าสุดจะมี CPU ที่ความเร็ว 600MHz ออกมาแต่ราคาค่อนข้างสูง และแผนที่นำทางต่างๆ ยังไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วสูงขนาดนั้น จึงยังไม่ค่อยนำมาใช้ใน GPS ติดรถ อย่างแพร่หลายนัก (กันยายน 2552) ดังนั้นการเลือกซื้อจึงแนะนำให้ดู CUP ที่มีความเร็วอย่างน้อย 400MHz ขึ้นไป
- Module : จะเป็น Chipset เมื่อใช้รับข้อมูลจากดาวเทียม GPS เมื่อมาประมวลผลหาค่าพิกัดที่เราอยู่ ผู้ผลิต Chipset Module สำหรับรับสัญญาณ GPS มีหลากหลายบริษัท สำหรับ Chipset GPS จาก SiRF จะแบ่งเป็น 3 รุ่นหลักๆในปัจจุบันคือ
1. SiRFatlasIII มีความเร็ว 400MHz ใช้ Module SiRF 3 จับสัญญาณดาวเทียมได้ 30 ดวง ตัวนี้ปัจจุบันผู้ผลิตเริ่มเปลี่ยนเป็นตัวที่เร็วกว่าอย่าง SiRFatlasIV แล้ว
2. SiRFatalsIV มีความเร็ว 500MHz ใช้ Module SiRF GRF3i+ จับสัญญาณดาวเทียมได้ 64 ดวง แนะนำให้เลือกซื้อความเร็วขนาด 500MHz เป็นอย่างน้อย เพื่อให้เล่นแผนที่ได้ไม่สะดุด
3. SiRFtitan มีความเร็ว 600MHz ใช้ Module SiRF GRF3i+ จับสัญญาณดาวเทียมได้ 64 ดวง ตัวนี้จะใช้ Module เดียวกับรุ่นก่อนหน้า แต่ความเร็วจะเพิ่มขึ้น ผู้หลิตยังไม่ค่อยนำมาใช้แพร่หลายนัก
สำหรับท่านที่ซื้อ GPS ติดรถที่ไม่ได้ใช้ Chipset ของ SiRF แนะนำให้ดูความเร็วของ CPU และความสามารถของ Module ว่าจับสัญญาณดาวเทียมได้กี่ดวง
- RAM : เนื่องจาก GPS Navigator (GPS ติดรถ) จะใช้ Program พร้อมๆกันอย่างมาก 1-2 ตัวเท่านั้น ดังนั้นขนาดของ RAM อาจจะไม่ค่อยสำคัญนัก ส่วนมากจะใส่มาให้ 64-128MB ถือว่าเพียงพอแต่แนะนำให้เป็น DDR Ram เพราะ SD RAM จะส่งข้อมูลได้ช้ากว่า DDR Ram
- Functions เสริม : Programs เสริมหลักที่ติดมาให้กับ GPS Navigator ที่ใช้ OS เป็น WindowsCE นั้น ส่วนใหญ่จะใช้ดูหนัง, ฟังเพลง, เล่นเกมส์ หรือ เปิดfile เอกสาร ซึ่งอาจไม่ค่อยได้นำมาใช้จริงเท่าไร ส่วนFunction เสริม FM Transmitter จะมีติดมากับ GPS Navigator บางรุ่น และจะมี bluetooth ที่มีไว้เชื่อมต่อกับมือถือเพื่อไว้รับโทรศัพท์ขณะขับรถ ราคาเครื่องที่มี Bluetooth จะแพงขึ้น 400-500บาทจากรุ่นปกติ ให้พิจารณาความต้องการของเรากับ Functions เสริมเหล่านี้ ว่านอกจากการนำทางแล้ว เราต้องการอะไรเสริมจากนั้นอีกหรือไม่
วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555
Facebook เปลี่ยนอีเมลผู้ใช้ในหน้าโปรไฟล์เป็น @facebook.com
ถ้ายังจำกันได้ Facebook นั้นเคยเปิดตัวระบบ Messages โฉมใหม่ ที่ไม่ใช่แค่อีเมล แต่สำหรับผู้ที่อยากมีอีเมล @facebook.com ก็สามารถไปสมัครกันได้ แน่นอนว่าส่วนมากมักจะสมัครกัน ... แต่ไม่ค่อยมีใครเอาไปใช้จริงๆ (ใครใช้จริงแสดงตัวหน่อย)ล่าสุด Facebook พยายามดันให้คนใช้อีเมลของตัวเองมากขึ้น ด้วยการปรับให้อีเมลที่แสดงผลในหน้ารายละเอียดโปรไฟล์ของทุกบัญชี เปลี่ยนไปเป็นอีเมล @facebook.com ทั้งหมด พร้อมเพิ่มฟีเจอร์ให้เลือกแสดงผลอีเมลบนหน้าโปรไฟล์ได้
สำหรับใครที่อยากเปลี่ยนกลับ สามารถเข้าไปแก้ได้ที่ About และเลือกแก้ไข้ในกรอบ Contact Info ข้อมูลอีเมลของเดินยังอยู่ครบถ้วนครับ
สำหรับใครที่อยากเปลี่ยนกลับ สามารถเข้าไปแก้ได้ที่ About และเลือกแก้ไข้ในกรอบ Contact Info ข้อมูลอีเมลของเดินยังอยู่ครบถ้วนครับ
วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555
จงฉลาดพอที่จะอ่าน.....
จง…เข้มแข็งพอที่จะเผชิญหน้ากับความจริง
จง...อ่อนแอพอที่จะรับรู้ว่าลำพังเรานั้นทำอะไรไม่ได้ทุกอย่าง
จง...ฟุ่มเฟือยน้ำใจ เมื่อมีใครต้องการความช่วยเหลือ
จง…คิดก่อนทุกครั้งที่จะปล่อยเงินออกจากมือ
จง...ฉลาดพอที่จะรู้ว่าเราไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
จง...โง่พอที่จะเชื่อในปาฏิหาริย์
จง ...เต็มใจจะแบ่งปันความสุขของตัวเอง
จง...เต็มใจที่จะแบ่งรับความทุกข์ของผู้อื่น
จง...เป็นผู้นำหากทางที่ผู้อื่นทิ้งไว้ให้นั้นเลือนราง
จง...เป็นผู้ตามหากตกอยู่ในวงล้อมแห่งความไม่แน่นอน
จง...เป็นคนแรกที่แสดงความยินดีต่อความสำเร็จของคู่แข่ง
จง...เป็นคนสุดท้ายที่จะวิจารณ์ความผิดพลาดของเพื่อน
จง...มองเพียงแค่ก้าวถัดไปเพราะมันจะทำให้เราไม่ล้ม
จง..มองไปยังจุดหมายปลายทางให้แน่ใจว่า ไม่ได้กำลังเดินผิดทาง
จง..ใช้เวลามอง หรือให้โอกาสกับตัวเองที่จะเรียนรู้คนที่เขาบอกรักคุณ
จง...รักคนที่รักคุณ แม้อีก 5 ปี 10 ปี หรือ 50 ปีเขาก็ยังรักคุณ
จง...รักคนที่ไม่รักคุณแล้ว...สักวันนึงเค้าอาจจะเปลี่ยนใจมารักคุณ
จง...อย่าปล่อยให้คนที่รักคุณหลุดลอยไป
สุดท้าย จง...อย่าหลอกตัวเอง
จง…เข้มแข็งพอที่จะเผชิญหน้ากับความจริง
จง...อ่อนแอพอที่จะรับรู้ว่าลำพังเรานั้นทำอะไรไม่ได้ทุกอย่าง
จง...ฟุ่มเฟือยน้ำใจ เมื่อมีใครต้องการความช่วยเหลือ
จง…คิดก่อนทุกครั้งที่จะปล่อยเงินออกจากมือ
จง...ฉลาดพอที่จะรู้ว่าเราไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
จง...โง่พอที่จะเชื่อในปาฏิหาริย์
จง ...เต็มใจจะแบ่งปันความสุขของตัวเอง
จง...เต็มใจที่จะแบ่งรับความทุกข์ของผู้อื่น
จง...เป็นผู้นำหากทางที่ผู้อื่นทิ้งไว้ให้นั้นเลือนราง
จง...เป็นผู้ตามหากตกอยู่ในวงล้อมแห่งความไม่แน่นอน
จง...เป็นคนแรกที่แสดงความยินดีต่อความสำเร็จของคู่แข่ง
จง...เป็นคนสุดท้ายที่จะวิจารณ์ความผิดพลาดของเพื่อน
จง...มองเพียงแค่ก้าวถัดไปเพราะมันจะทำให้เราไม่ล้ม
จง..มองไปยังจุดหมายปลายทางให้แน่ใจว่า ไม่ได้กำลังเดินผิดทาง
จง..ใช้เวลามอง หรือให้โอกาสกับตัวเองที่จะเรียนรู้คนที่เขาบอกรักคุณ
จง...รักคนที่รักคุณ แม้อีก 5 ปี 10 ปี หรือ 50 ปีเขาก็ยังรักคุณ
จง...รักคนที่ไม่รักคุณแล้ว...สักวันนึงเค้าอาจจะเปลี่ยนใจมารักคุณ
จง...อย่าปล่อยให้คนที่รักคุณหลุดลอยไป
สุดท้าย จง...อย่าหลอกตัวเอง
จรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
1. | ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริม |
ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า | |
2. | ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัย ที่ถูกต้องดีงาม ให้เกิดแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถ |
ด้วยความบริสุทธิ์ใจ | |
3. | ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ |
4. | ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์ |
5. | ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ให้ศิษย์ |
กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาผลประโยชน์ ให้แก่ตนโดยมิชอบ | |
6. | ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทาง วิทยาการเศรษฐกิจสังคม |
และการเมืองอยู่เสมอ | |
7. | ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรวิชาชีพครู |
8. | ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์ |
9. | ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)